อุตสาหกรรมการผลิต คืออะไร สำคัญอย่างไร ? พร้อมแนวทางในอนาคต

อุตสาหกรรมการผลิต

อุตสาหกรรมการผลิต คืออะไร สำคัญอย่างไร ? พร้อมแนวทางในอนาคต

อุตสาหกรรมการผลิต คืออะไร

อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry) คือ กระบวนการผลิตสินค้าเพื่อการใช้หรือจำหน่าย โดยการแปรสภาพวัตถุดิบหรือวัสดุต่าง ๆ จากทรัพยากรที่มีอยู่ ผ่านกระบวนการซึ่งใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ แรงงาน และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการผลิตมีบทบาทสำคัญคือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ไม่เพียงแต่ในด้านการสร้างรายได้และการจ้างงาน แต่ยังมีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน 

ประเภทของอุตสาหกรรมการผลิต

  • ชิ้นส่วนและงานประกอบ (Assemble) 
  • ยานยนต์ (Automotive)
  • อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
  • เหล็ก (Metal)
  • พลาสติก (Plastic)
  • เคมีภัณฑ์ (Chemical)
  • อาหารและเครื่องดื่ม (Food and beverage)
  • เครื่องสำอางค์ (Cosmetic)
  • สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Textile and clothing)
  • เฟอร์นิเจอร์ (Furniture)
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า (Electrical appliance)
  • ยา (Pharmaceutical)
  • สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)
  • งานก่อสร้าง (Construction)
  • ค้าส่งและค้าปลีก (Trading)
  • อื่น ๆ

ขั้นตอนการทำงาน ในอุตสาหกรรมการผลิต 

ในอุตสาหกรรมการผลิต ขั้นตอนการทำงานจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตได้ดังนี้

1. การวางแผนการผลิต (Planning)

เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ เริ่มจากการกำหนดแนวทางและวิธีการในการผลิตสินค้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความต้องการของลูกค้า หรือ Work order กำลังการผลิต ทรัพยากรที่มีอยู่ ต้นทุน และระยะเวลา จากนั้นรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดตารางการผลิตต่อไป

2. ดำเนินงาน (Operation)

ขั้นตอนนี้จะเริ่มดำเนินการต่อจากการวางแผนการผลิตเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งจะครอบคลุมลำดับขั้นในการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การผลิต ควบคุมคุณภาพ และการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

3. การควบคุม (Control)

เป็นขั้นตอนการควบคุมดูแลและตรวจสอบตลอดกระบวนการผลิต หากเกิดข้อผิดพลาดหรือการผลิตไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือแผนที่วางไว้ไม่ว่าในขั้นตอนใดก็ตาม ผู้ควบคุมการผลิตต้องดำเนินการปรับแก้ไขการทำงานของระบบการผลิต ให้เป็นไปตามแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย

แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน

การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบันมีแนวทางที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการของโรงงานหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ แต่ละแห่งจะวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตอย่างละเอียดเพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม และนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมของตนเอง อาทิ

พัฒนาทักษะแรงงาน: พัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เน้นการศึกษา ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

พัฒนากระบวนการ: วิเคราะห์กระบวนการผลิตปัจจุบัน หาจุดอ่อนและโอกาสในการปรับปรุง และพัฒนาและปรับกระบวนการผลิตให้ราบรื่น รวดเร็ว ทันความต้องการ

พัฒนาเครื่องจักร: รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอย่างละเอียด เช่น เวลาการทำงานของเครื่องจักร จำนวนชิ้นงานที่ผลิต เวลาหยุดทำงาน และข้อผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน การวัดผลการทำงานของเครื่องจักรแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ทำงานได้เท่าใดถ้าเทียบกับศักยภาพสูงสุด ช่วยให้นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดเวลาหยุดทำงาน

อนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต

1. การใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ

ใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานต่าง ๆ โดยไม่ต้องมีการควบคุมโดยมนุษย์โดยตรง หรือมีการควบคุมน้อยที่สุด อาทิ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทำงานเลียนแบบร่างกายมนุษย์ มักถูกใช้ในงานที่เป็นอันตราย ใช้แรงงาน หรืองานที่ต้องการความแม่นยำสูง ปัญญาประดิษฐ์ ซอฟต์แวร์ที่สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยสามารถนำมาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ควบคุมกระบวนการ และการวางแผนตัดสินใจ

2. การผลิตแบบยั่งยืน

อนาคตของอุตสาหกรรมการผลิตคือการผลิตสินค้าและบริการโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญมากขึ้น เป้าหมายหลักคือการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดมลพิษ

3. การผลิตแบบดิจิทัล

เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อม ERP หรือระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เพื่อพัฒนา โรงงานให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ควบรวม Data ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน กลายเป็นศูนย์กลางข้อมูลของการผลิต 

บทสรุปการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ

อุตสาหกรรมการผลิต กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติอัจฉริยะเข้าสู่กระบวนการผลิต ทั้งปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โดยการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ จะช่วยพัฒนาการผลิตให้มีความแม่นยำ ลดความซับซ้อนของการทำงาน จัดสรรทรัพยากรคุ้มค่า ควบคุมประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และมุ่งสู่เป้าหมายหลัก Industry 4.0 อย่างสมบูรณ์แบบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *